ไฟฟ้าสถิตเกิดจากอะไร?
ไฟฟ้าสถิต เกิด จากอะไร?บทความย่อ ตอนที่ 1
มาทำความรู้จักกับไฟฟ้า แต่ละประเภท
1. ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) คือ ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ใช้กับ TV, ตู้เย็น 2. ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) คือ แบตเตอรี่รถยนต์ หรือ แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ 3. ไฟฟ้าสถิต (ESD) คือ ที่ใกล้ตัวเราที่คนส่วนใหญ่รู้จักร เช่น ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า หรือ ไฟฟ้าสถิตจากร่างกายคนเป็นต้น ESD คือ อะไร เรามาทำความรู้จักรกับ ESD (Electrostatic discharge)ไฟฟ้าสถิตเกิดจาก อนุภาคพื้นฐานในอะตอม นั่นเอง อะตอมจะประกอบไปด้วย 3 อนุภาค คือ
วัตถุชิ้นหนึ่งๆ ประกอบด้วยอะตอมจำนวนมากมายแต่ละอะตอมประกอบด้วย นิวเคลียส ซึ่งประกอบด้วย อนุภาคที่มีประจุบวก เรียกว่า โปรตอน อนุภาคที่เป็นกลางทางไฟฟ้า เรียกว่า นิวตรอน อนุภาคที่มีประจุลบ เรียกว่า อิเล็กตรอนบทความย่อ ตอนที่ 2
ประจุไฟฟ้า มี 2 ชนิด : ประจุบวก(+), ประจุลบ(-)
ประจุไฟฟ้าสถิตสามารถเกิดได้ด้วยวิธีใดบ้าง
1.การเสียดสี : การเสียดสีเมื่อนำวัตถุต่างชนิดที่มีความเหมาะสมกันมาถูกัน 2.การสัมผัส : การสัมผัสหรือการถ่ายเทเมื่อนำวัตถุที่มีประจุมาสัมผัสกับวัตถุที่เป็นกลาง หรือนำวัตถุที่มีประจุทั้งคู่มาสัมผัสกัน จะเกิดการถ่ายเทประจุระหว่างวัตถุทั้งสอง และจะหยุดการถ่ายเทเมื่อจนวัตถุทั้งสองจะมีศักย์ไฟฟ้าเท่ากัน 3.การเหนี่ยวนำ: การเหนี่ยวนำ วัตถุใดๆ ก็ตาม เมื่อปรากฏมีประจุไฟฟ้าขึ้นแล้ว ส่งอำนาจไฟฟ้าออกไปเป็นบริเวณโดยรอบ เรียกว่า "สนามไฟฟ้าไฟฟ้าสถิต" สสารจะประกอบประกอบด้วย อนุภาคที่เล็กที่สุดคือโมเลกุล (Molecule) ซึ่งโมเลกุลประกอบด้วย ธาตุต่างๆ ที่มารวมตัวกันแล้วมีคุณสมบัติแตกต่างไปจากธาตุเดิม ธาตุประกอบด้วย อะตอม (Atom) ซึ่งเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุแต่ยังคงมีคุณสมบัติของธาตุนั้นๆ อยู่ อะตอมประกอบด้วยนิวตรอน (Neutron) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นกลางทางไฟฟ้าโปรตรอน(Protron) และอิเลคตรอน (Electron) โดยนิวตรอนและโปรตรอนจะรวมตัวกันอยู่ตรงกลางของอะตอม โดยมีอิเลคตรอนวิ่งอยู่รอบนอกอิเลคตรอน ที่อยู่วงนอกสุด (Valence Shell) เราเรียกว่าวาเลนซ์อิเลคตรอน (Valence Electron) อะตอมจะกลายเป็นประจุลบ (NegativeCharge) เมื่อรับอิเลคตรอนเพิ่มเข้ามา และจะกลายเป็นประจุบวก (Positive Charge) เมื่อสูญเสียอิเลคตรอนไป ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ วัตถุชิ้นหนึ่งๆ ประกอบด้วยอะตอมจำนวนมากมาย แต่ละอะตอมประกอบด้วย นิวเคลียส ซึ่งประกอบด้วย - อนุภาคที่มีประจุบวก เรียกว่า โปรตอน - อนุภาคที่เป็นกลางทางไฟฟ้า เรียกว่า นิวตรอน - อนุภาคที่มีประจุลบ เรียกว่า อิเล็กตรอนบทความย่อ ตอนที่ 3
การเกิดเพลิงไหม้จะต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 อย่าง คือ
เชื้อเพลิง
ประกายไฟ/ความร้อน
ออกซิเจน
การป้องกันการระเบิดในสถานที่ที่มีไอระเหยของสารไวไฟรั่วไหลอยู่เสมอเราจะต้องหลีกเลี่ยงการเกิดประกายไฟหรือความร้อนสูง และประกายไฟจากการสปาร์กของประจุไฟฟ้าสถิตก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้ เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ที่จะทำให้เกิดประกายไฟอันตรายจากไฟฟ้าสถิตย์ เราจะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆที่สำคัญ ดังนี้ การสะสมของประจุ (Accumulation of Charge) ความสามารถในการนำไฟฟ้าของน้ำมันเชื้อเพลิง พิจารณาจากค่าความนำ (Conductivity) ซึ่งมีหน่วยเป็น picoSiemens/meter (ps/m) ตัวอย่างเช่นน้ำมันดีเซลมีค่าความนำประมาณ 25 ps/m จะสามารถสะสมประจุไฟฟ้าได้มาก ดังนั้นการถ่ายเทน้ำมันผ่านท่อ จึงจำเป็นต้องใช้อัตราการไหลต่ำเพื่อป้องกันการเหนี่ยวนำประจุไฟฟ้าให้เกิดประจุไฟฟ้าตรงข้ามขึ้นบนท่อจะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดสปาร์กไปยังโครงสร้างที่เป็นตัวนำไฟฟ้าอื่นที่เข้ามาใกล้บทความย่อ ตอนที่ 4
การป้องกันการสปาร์กจากประจุไฟฟ้าสถิตย์สามารถทำได้โดย
- แสดงวัตถุที่มีประจุและไม่มีประจุที่แยกจากพื้นดิน
- แสดงการ Bonding ที่ทำให้วัตถุทั้งสองมีประจุไฟฟ้าสถิตเท่ากัน
บทความย่อ ตอนที่ 5
ตัวอย่างการสลายไฟฟ้าสถิตลงกราวด์ ในรูปแบบของสายกราวด์ กับ IONIZER
ขอยกตัวอย่าง การใช้สายกราวด์ ต่อ กับ การใช้ Ionizer ซึ่งสองชนิดนี้ท่านต้องเข้าใจก่อน วัสดุชนิดใดควรที่จะต่อสายกราวด์หรือวัสดุชนิดใด ต้องใช้ Ionizer มาสลายประจุไฟฟ้าสถิต การใช้ Ionizer คือ วัสดุชนิดนั้นต้องเป็น ฉนวน เพราะหลักการของฉนวนด้านไฟฟ้า ฉนวนจะไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าใหลผ่านได้ หรือ อาจจะกล่าวอีกในนึ่งว่า ฉนวนเป็นตัวนำที่ไม่ดี การต่อสายกราวด์ สามารถนำไปต่อวัสดุนั้นที่เป็นตัวนำที่ดี เช่น การ Bonding โครงของเครื่องจักร หรือ Fixture สเตนเลสเป็นต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Ionizer ก็ได้จะทำให้เพิ่มงบในการป้องกันไฟฟ้าสถิตตามมาด้วยบทความย่อ ตอนที่ 6
จะพบคำถามบ่อย รถเข็นต้องต่อโซ่หรือเปล่า คำตอบก็คือ ต้องต่อ อ้างอิงจาก มาตราฐานข้อที่ 8.1บทความย่อ ตอนที่ 7
EPA ย่อมาจาก ESD PROTECT AREA คือพื้นที่ที่เรากำหนดเป็นพื้นที่กำหนดหรือป้องกันไฟฟ้าสถิต นั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอะไรบ้างโดยคร่าวๆๆ จะมีรายละเอียดมากว่านี้ ควบคุมมากกว่านี้ เช่นกัน ตัวอย่างคร่าวๆ เพื่อให้ได้รู้จักรในเบื้องต้นบทความย่อ ตอนที่ 8
สายรัดข้อมือ Wrist Strap ที่เราทราบกันดีว่าจะมีความต้านทาน 1M Ohm เรามาดูกันว่าภายในสายมีอะไรต่ออยู่ที่หัวสเน็ปต่อกับสายวิสแบนส์กันครับ เฉลย: รูปด้านล่างนี้เองบทความย่อ ตอนที่ 9
ตัวนำ และ ฉนวน และ กึ่งตัวนำ- ตัวนำ
- คือ สสาร วัตถุ วัสดุ หรือ อุปกรณ์ที่สามารถยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย หรือวัตถุที่มีความต้านทานต่ำ เงินเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุด แต่ในสายไฟทั่วไปจะใช้ทองแดงเป็นตัวนำ เพราะตัวนำที่ทำจากจะเงินมีราคาแพง
อาจารย์ ปิติศักดิ์ ลิ้มไทย
Mobile: +66 062-8587855
E-Mail: ESDConsultantDevelopment@gmail.com
Or Sale.ESDConsultantDevelopment@gmail.com
246 total views, 1 views today